ระเบียบสหกรณ์ออมทรัพย์สหภาพแรงงานไทยเรยอน จำกัด
ว่าด้วย ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน

 

หมวด 1
บททั่วไป

ข้อ 1. คำนิยาม
        สหกรณ์ หมายถึง   สหกรณ์ออมทรัพย์สหภาพแรงงานไืทยเรยอน จำกัด
        ประเภท               ออมทรัพย์
        ที่ตั้งสำนักงาน       เลขที่ 36 หมู่ที่ 2 ถนน อยุธยา-อ่างทอง ตำบลโพสะ อำเภอเมือง                                   จังหวัดอ่างทอง โทร. 0-3567-2127-29

 

 


ซึ่งมีฐานะเป็น "นายจ้าง"
         "พนักงาน" หมายถึง ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับตั้งแต่ พนักงานระดับบังคัญบัญชา และระดับปฏิบัติการที่ทำหน้าที่ต่างๆ (เช่น ผู้จัดการ รองผู้จัดการ หัวหน้างาน หรือ หัวหน้าฝ่าย ผู้ช่วยหัวหน้างาน หรือ ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่าย พนักงานการเงิน พนักงานบัญชี พนักงานธุรการ พนักงานประจำหน่วย พนักงานขับรถ นักการภารโรง เวรยาม ฯลฯ) ซึ่งมีฐานะเป็น "ลูกจ้าง"

หมวด 2
วัน เวลาทำงาน และเวลาพัก

ข้อ 2. วันทำงาน
        สหกรณ์กำหนดให้พนักงานทำงานสัปดาห์ละ 6 วัน ตั้งแต่วันจันทร์ ถึง วันเสาร์

ข้อ 3. เวลาทำงาน
        สหกรณ์กำหนดให้พนักงานทำงานวันละ 8 ชั่วโมง เวลา 08.00 น. ถึงเวลา 17.00 น.

ข้อ 4. เวลาพัก
       สหกรณ์กำหนดให้พนักงานหยุดพัก ระหว่างเวลา 12.00 ถึง 13.00 น.

       ในกรณีที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันกำหนดเวลาพักระหว่างการทำงานตามวรรคหนึ่งเป็นอย่างอื่นก็ย่อมกระทำได้ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความราบรื่นและอำนวยความสะดวกแก่สมาชิกที่มาใช้บริการ

หมวด 3
วันหยุดและหลักเกณฑ์การหยุด

ข้อ 5. วันหยุดประจำสัปดาห์
        สหกรณ์กำหนดให้พนักงานหยุดประจำสัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 วัน ได้แก่ วันอาทิตย์

ข้อ 6. วันหยุดตามประเพณี
        สหกรณ์กำหนดให้พนักงานหยุดตามประเพณีได้ปีละ 13 วัน ดังนี้

1. วันขึ้นปีใหม่
2. วันมาฆบูชา
3. วันจักรี
4. วันสงกรานต์
5. วันแรงงานแห่งชาติ
6. วันฉัตรมงคล
7. วันวิสาขบูชา
8. วันเข้าพรรษา
9. วันเฉลิมพระชนมพรรษา
10. วันปิยะมหาราช
11. วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
12. วันรับธรรมนูญ
13. วันสิ้นปีเก่า

         ในกรณีที่วันหยุดตามประเพณีวันใดตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ของพนักงาน ให้พนักงานได้หยุดชดเชยวันหยุดตามประเพณีในวันทำงานถัดไป

        สหกรณ์ฯ อาจประกาศวันหยุดตามประเพณีที่ต่างไปจากที่กำหนดไว้ในวรรคแรกได้เป็นคราวๆ ไป แต่ทั้งนี้ต้องประกาศให้พนักงานทราบภายในเดือน ธันวาคมของปีก่อน

        ข้อ 7. วันหยุดพักผ่อนประจำปี

        7.1 สหกรณ์กำหนดให้พนักงานที่ทำงานครบ 1 ปี หยุดพักผ่อนประจำปี จำนวน 6 วันทำงานโดยจะจัดให้หยุดภายในปีถัดไป เว้นแต่ได้ตกลงกันสะสมวันหยุดในปีนั้นไปรวมหยุดในปีถัดไป

        สหกรณ์อาจกำหนดให้พนักงานที่ทำงานยังไม่ครบ 1 ปี หยัดพักผ่อนประจำปีตามส่วนได้

        7.2 พนักงานที่มีอายุงานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป จะได้รับวันลาหยุดพักผ่อนประจำปีเพิ่มเป็นดังนี้

 พนักงานที่ทำงานมาครบ 1 ปี
มีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีได้ 6 วัน
 พนักงานที่ทำงานมาครบ 2 ปี
มีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีได้ 7 วัน
 พนักงานที่ทำงานมาครบ 3 ปี
มีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีได้ 10 วัน
 พนักงานที่ทำงานมาครบ 4 ปี
มีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีได้ 11 วัน
 พนักงานที่ทำงานมาครบ 5 ปี
มีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีได้ 12 วัน
 พนักงานที่ทำงานมาครบ 6 ปี
มีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีได้ 13 วัน
 พนักงานที่ทำงานมาครบ 7 ปี
มีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีได้ 14 วัน
 พนักงานที่ทำงานมาครบ 8 ปี
มีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีได้ 15 วัน
 พนักงานที่ทำงานมาครบ 9 ปี
มีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีได้ 16 วัน
 พนักงานที่ทำงานมาครบ 10 ปี
มีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีได้ 16 วัน
 พนักงานที่ทำงานมาครบ 11 ปี
มีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีได้ 17 วัน
 พนักงานที่ทำงานมาครบ 12 ปี
มีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีได้ 17 วัน
พนักงานที่ทำงานมาครบ 13 ปี
มีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีได้ 17 วัน
 พนักงานที่ทำงานมาครบ 14 ป
มีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีได้ 18 วัน
 พนักงานที่ทำงานมาครบ 14 ปี
มีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีได้ 19 วัน

       7.3 เจ้าหน้าที่ที่ต้องการสะสมวันลาหยุดพักผ่อนประจำปี สำหรับปีต่อไปให้ยื่นความจำนงเพื่อขอสะสมต่อผู้จัดการก่อนครบกำหนดใช้สิทธิ 1 เดือน เพื่อใช้สิทธิสำหรับวันลาที่ยังคงเหลืออยู่ในปีถัดไป

       7.4 ในการลาหยัดพักผ่อนประจำปีที่สะสมไว้ รวมทั้งสิทธิการลาที่เกิดขึ้นในปีนั้นๆ เจ้าหน้าที่จะขอใช้สิทธิในการลาได้ครั้งละไม่เกิน 6 วัน และระยะการลาครั้งก่อนกับครั้งต่อไปต้องห่างกันไม่น้อยกว่า 6 วัน

       7.5 ในการใช้สิทธิการลาตามข้อ 7.4 เจ้าหน้าที่ต้องใช้สิทธิก่อนครบกำหนดในปีที่ 2

       7.6 ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ไม่ใช้สิทธิตามข้อ 7.5 ให้ถือว่าสละสิทธิการลาของวันที่เหลืออยู่เว้นแต่เจ้าหน้าที่ยื่นความจำนงแล้วผู้จัดการไม่สามารถอนุมัติวันลาให้ได้ สหกรณ์ฯ ยินดีจ่ายเป็นเงินเท่ากับค่าจ้างปกติของเจ้าหน้าที่ผู้นั้น สำหรับวันลาที่ยังคงเหลืออยู่

       7.7 การสะสมวันหยุดพักผ่อนประจำปีดังกล่าวนี้ จะสะสมได้ครั้งละไม่เกิน 2 ปี

หมวด 4
การทำงานล่วงเวลา และการทำงานในวันหยุด

ข้อ 8. การทำงานล่วงเวลาและการทำงานในวันหยุด

         8.1 ในกรณีที่สหกรณ์มีเหตุฉุกเฉิน หรือความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องทำงานติดต่อกันไป ถ้าหยุดแล้วจะเกิดความเสียหายสหกรณ์จะให้พนักงานทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน หรือทำงานในวันหยุดรวมถึงทำงานล่วงเวลาในวันหยุดได้ตามความจำเป็น โดยสหกรณ์จะแจ้งให้พนักงานทราบล่วงหน้า และพนักงานจะต้องให้ความร่วมมือในการทำงานล่วงเวลาดังกล่าว

        8.2 ในกรณีที่สหกรณ์มีความจำเป็นต้องทำงานเพื่อเพิ่มการบริการ สหกรณ์จะให้พนักงานทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุดเป็นครั้งคราวเท่าที่เป็นประโยชน์แก่การบริการ ทั้งนี้สหกรณ์จะให้พนักงานที่สมัครใจทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุดได้ไม่เกิน 36 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

ข้อ 9. อัตราค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุด

        9.1 สหกรณ์จะจ่ายค่าล่วงเวลาสำหรับการทำงานล่วงเวลาในวันทำงานปกติในอัตรา 1.5 เท่า ของค่าจ้างตามจำนวนชั่วโมงที่ทำงานล่วงเวลา

        9.2 สหกรณ์จะจ่ายค่าล่วงเวลาสำหรับการทำงานล่วงเวลาในวันหยุด ในอัตรา 3 เท่าของค่าจ้างตามจำนวนชั่วโมงที่ทำงานล่วงเวลาในวันหยุด

       9.3 สหกรณ์จะจ่ายค่าทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์ ให้แก่พนักงานที่ทำงานในวันหยุดในอัตรา 1 เท่าของค่าจ้าง ในวันทำงานปกติตามจำนวนชั่วโมงที่ทำงานในวันหยุด

       9.4 สหกรณ์จะจ่ายค่าทำงานในวันหยุดตามประเพณี และวันหยุดพักผ่อนประจำปี ให้แก่พนักงานที่ทำงานในวันหยุด ในอัตรา 1 เท่า ของค่าจ้างในวันทำงานปกติ ตามจำนวนชั่วโมงทำงานในวันหยุด

ข้อ 10. การไม่จ่ายค่าล่วงเวลา ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และค่าทำงานในวันหยุด

         10.1 สหกรณ์จะไม่จ่ายค่าล่วงเวลาและค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่พนักงาน ดังนี้
         (1) พนักงานซึ่งได้รับมอบหมายให้มีอำนาจทำการแทนสหกรณ์เกี่ยวกับการจ้างการให้บำเหน็จ การลดค่าจ้าง หรือการเลิกจ้าง
         (2) พนักงานที่ถูกกำหนดให้ทำงานที่มีลักษณะ หรือสภาพที่ต้องออกไปทำงานนอกสถานที่และโดยลักษณะ หรือสภาพของงาน ไม่อาจกำหนดเวลาทำงานที่แน่นอนได้
         (3) พนักงานที่ถูกกำหนดให้อยู่เวรเฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินเป็นครั้งคราว
         10.2 สหกรณ์จะไม่จ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้แก่พนักงาน ซึ่งได้รับมอบหมายให้มีอำนาจทำการแทนสหกรณ์เกี่ยวกับการจ้าง การให้บำเหน็จ การลดค่าจ้าง หรือการเลิกจ้าง

หมวด 5.
การจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด

ข้อ 11. การจ่ายค่าจ้างในวันหยุด

         11.1 สหกรณ์ได้จ่ายค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ีให้แก่พนักงานรายเดือน โดยจ่ายรวมอยู่ในเงินเดือนแล้ว
         11.2 สหกรณ์ได้จ่ายค่าจ้างในวันหยุดตามประเพณีและวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่พนักงานรายเดือน โดยจ่ายรวมอยู่ในเงินเดือนแล้ว

ข้อ 12. การจ่ายค่าจ้างในวันลา

         สหกรณ์จะจ่ายค่าจ้างในวันลา ให้แก่พนักงานที่ลาถูกต้องตามระเบียบของสหกรณ์ดังนี้
         12.1 วันลาป่วย จะจ่ายตามจำนวนวันที่พนักงานป่วยจริง แต่ไม่เกิน 30 วันทำงานต่อปี
         12.2 วันลาทำหมัน จะจ่ายตามจำนวนวันที่แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งกำหนดให้พนักงานหยุดงาน
         12.3 วันลาคลอดบุตร จะจ่ายตามจำนวนวันที่ลา แต่ไม่เกิน 90 วัน
         12.4 วันลากิจกรรม จะจ่ายตามจำนวนวันที่สหกรณ์อนุญาตให้ลา แต่ไม่เกิน 3 วันต่อปี
         12.5 วันลาเพื่อฝึกความพรั่งพร้อมทางทหาร ตามจำนวนวันที่ลา แต่ไม่เกิน 60 วันต่อปี
         12.6 วันลาเพื่อการฝึกอบรม หรือพัฒนาความรู้ตามจำนวนวันที่สหกรณ์อนุยาต แต่ไม่เกิน 30 วันต่อปี
         12.7 วันลาเพื่ออุปสมบท และประกอบพิธีฮัจย์ ตามจำนวนวันที่สหกรณ์อนุยาตแต่ไม่เกิน 15 วันต่อปี
         12.8 วันลาเพื่อการทำงานศพ บิดา มารดา คู่สมรส และบุตร จะจ่ายตามจำนวนวันลาครั้งละ 5 วัน ต่อการทำงานศพแต่ละครั้ง
         12.9 วันลาเพื่อการแต่งงานจะจ่ายให้ตามวันลาที่ได้รับอนุยาตแต่ไม่เกิน 3 วัน
         12.10 วันลาเพื่อไปรับการเกณฑ์ทหารตามกำหนดของทางราชการจะจ่ายให้ครั้งละ 1 วัน

ข้อ 13. กำหนดระยะเวลาการจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด

         13.1 สหกรณ์กำหนดให้มีการจ่ายเงินเดือน ค่าครองชีพ เบี้ยขยัน ค่าล่วงเวลา ค่าำทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุดฯลฯ ให้แก่พนักงานรายเดือนๆ ละ 1 ครั้ง โดยจะจ่ายในวันสิ้นเดือน
         13.2 สหกรณ์กำหนดให้มีการจ่ายเงินประเภทอื่นให้แก่พนักงานตามที่ตกลงกัน

         ในกรณีที่วันจ่ายค่าจ้างวันใดตรงกับวันหยุดงาน ให้เลื่อนไปจ่ายในวันทำงานก่อนถึงวันหยุดนั้น

ข้อ 14. สถานที่จ่ายเงินให้แก่พนักงาน

         สหกรณ์จะจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และเงินอื่นให้แก่พนักงาน ณ ที่ทำการของสหกรณ์ และหรือโดยโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของธนาคาร หรือสถาบันการเงินที่สหกรณ์กำหนด

หมวด 6
วันลา และหลักเกณฑ์การลา

ข้อ 15 วันลา
         พนักงานมีสิทธิลาหยุดได้ดังนี้
         15.1 การลาป่วย พนักงานมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินเท่าที่กำหนดไว้ในข้อ 12.1 การประสบอันตราย หรือการเจ็บป่วย เนื่องจากการทำงานจนไม่สามารถมาปฏิบัติงานตามปกติ สหกรณ์จะให้หยุดงานตามความเห็นแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง โดยไม่ถือเป็นการลาป่วย
         15.2 การลาทำหมัน พนักงานมีสิทธิลาหยุดงานเพื่อการทำหมันได้ตามจำนวนวันที่แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งของโรงพยาบาลกำหนด
         15.3 การลาคลอดบุตร พนักงานหญิงมีสิทธิลาหยุดงานก่อนหรือหลังการคลอดบุตรได้ไม่เกิน 90 วัน ทั้งนี้โดยรวมวันหยุดด้วย
         พนักงานหญิงที่ยังไม่สามารถทำงานได้เนื่องจากการลาคลอดนี้ ให้มีสิทธิลาได้อีกไม่เกิน 30 วัน โดยไม่ได้รับค่าจ้างและจะต้องมีใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งมายื่นแสดงด้วย
         การแท้งบุตรไม่ถือเป็นการลาคลอดตามระเบียบนี้
 
       15.4 การลากิจ พนักงานมีสิทธิลาหยุดงานเพื่อกิจธุระจำเป็นได้ไม่เกิน 3 วันต่อปี
         การลากิืจเพื่อธุระจำเป็น จะต้องเป็นกิจธุระเกี่ยวกับการติดต่อกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ การป่วยเจ็บของบุคคลในครอบครัว หรือความจำเป็นอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้เท่านั้น
         15.5 การลาเพื่อฝึกความพรั่งพร้อมทางทหาร พักงานมีสิทธิลาหยุดงานเพื่อรับราชการทหารในการเรียกพลเพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร หรือเพื่อทดสอบความพรั่งพร้อมทางทหารตามกำหนดระยะเวลาที่ราชการกำหนด
         15.6 การลาเพื่อรับการฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงาน พนักงานมีสิทธิขอลาหยุดงานเพื่อรับการฝึกอบรม หรือพัฒนาความรู้ความสามารถ ได้ปีหนึ่งไม่เกิน 30 วัน

         การลาเพื่อการรับการฝึกอบรม หรือพัฒนาความรู้ความสารถของพนักงานดังกล่าว จะต้องเป็นประโยชน์ต่องานด้านแรงงานและสวัสดิการสังคม เพิ่มทักษะความชำนาญต่อการปฏิบัติงาน หรือเป็นการลาเพื่อสอบวัดผลทางการศึกษาที่ทางราชการจัดหรืออนุญาตให้จัดขึ้น

ข้อ 16. หลักเกณฑ์การลา

         16.1 การลาป่วย พนักงานที่เจ็บป่วยจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ พนักงานจะต้องปฏิบัติตามระเบียบการลาป่วย ดังนี้
         (1) กรณีที่พนักงานสามารถลาป่วยล่วงหน้าได้ ให้ยื่นใบลาป่วยตามแบบใบลาที่สหกรณ์กำหนดก่อนการหยุดงานต่อผู้จัดการ หรือกรรมการที่ได้รับมอบหมายแล้วแต่กรณี พร้อมด้วยหลักฐาน (ถ้ามี)
         (2) กรณีที่พนักงานเจ็บป่วยกระทันหัน และไม่สามารถลาป่วยล่วงหน้าได้ ให้พนักงานแจ้งให้กรรมการผู้จัดการ รองประธาน ประธานกรรมการ ทราบทันทีโดยทางโทรศัพท์ โทรเลข จดหมาย หรือให้ผู้อื่นมาแจ้งแทน และต้องยื่นใบลาป่วยภายในวันแรกที่มาทำงานตามแบบใบลาที่สหกรณ์กำหนดต่อผู้จัดการ หรือกรรมการที่ได้รับมอบหมาย แล้วแต่กรณี พร้อมด้วยหลักฐาน(ถ้่ามี)
        (3) การเจ็บป่วยของพนักงานตั้งแต่สามวันทำงานขึ้นไป ให้พนักงานแสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งของโรงพยาบาล หรือหลักฐายของสถานพยาบาลของราชการประกอบการลาป่วยทุกครั้งด้วย
        (4) การลาป่วยโดยมิได้เจ็บป่วยจริง สหกรณ์ถือว่าพนักงานใช้สิทธิโดยไม่สุจริตอันเป็นความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ ย่อมถูกลงโทษได้
        16.2 การลาทำหมัน ให้พนักงานยื่นใบลาล่วงหน้าตามแบบใบลาที่สหกรณ์กำหนดต่อผู้จัดการ หรือกรรมการที่ได้รับมอบหมายแล้วแต่กรณี และเมื่อการทำหมันสิ้นสุดแล้ว ให้พนักงานแสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งของโรงพยาบาลประกอบการลาด้วย
        16.3 การลาคลอดบุตร
        (1) พนักงานที่ประสงค์ที่จะหยุดงานก่อนการคลอดบุตรให้ยื่นใบลาตามแบบที่สหกรณ์กำหนดต่อผู้จัดการ หรือกรรมการที่ได้รับมอบหมายก่อนการหยุดงานแล้วแต่กรณี
        (2) พนักงานที่ไมาสามารถมาปฏิบัติงานได้ เนื่องจากการคลอดบุตรให้พนักงาน ยื่นใบลาตามแบบที่สหกรณ์กำหนด พร้อมทั้งใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งของโรงพยาบาลต่อผู้จัดการหรือกรรมการที่ได้รับมอบหมายแล้วแต่กรณี โดยให้ยื่นใบลาภายใน 3 วัน นับแต่วันกลับมาทำงาน
        16.4 การลากิจ พนักงานที่มีกิจธุระจำเป็นอันไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ให้ยื่นใบลากิจต่อผู้จัดการ หรือกรรมการที่ได้รับมอบหมาย แล้วแต่กรณีล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน ตามแบบใบลาที่สหกรณ์กำหนดพร้อมด้วยหลักฐาน(ถ้ามี) และเมื่อได้รับการอนุญาตแล้ว จึงจะหยุดงานได้

         ในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนซึ่งไม่อาจลาล่วงหน้าได้ ให้พนักงานยื่นใบลากิจภายในวันแรกที่มาทำงาน พร้อมหลักฐาน(ถ้ามี) และเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว จึงจะถือเป็นการลากิจที่ถูกต้อง
         การลาที่ไม่มีเหตุอันสมควร สหกรณ์มีสิทธิไม่อนุยาตให้ลากิจได้และให้ถือว่าเป็นการขาดงาน
         16.5 การลาเพื่อฝึกความพรัางพร้อมทางทหาร พนักงานที่ได้รับหมายเรียกทางทหารเพื่อการตรวจสอบการฝึกวิชาทหาร หรือทดสอบความพรั่งพร้อมทางทหารให้ยื่นใบลาล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วันตามแบบใบลาที่สหกรณ์กำหนดพร้อมด้วยหลักฐานต่อผู้จัดการ หรือกรรมการที่ได้รับมอบหมายแล้วแต่กรณี และเมื่อสิ้นสุดการปฏิบัติทางทหารดังกล่าวแล้ว ให้พนักงานกลับมารายงานตัวเพื่อทำงานตามปกติภายใน 3 วัน
         16.6 การลาเพื่อฝึกอบรมหรือพัมนาความรู้ความสามารถ
         พนักงานที่ประสงค์จะขอลาหยุดเพื่อเข้ารับการฝึกอบรม การประชุม การสัมมนา การชี้แจง การอภิปราย หรือการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานด้านแรงงาน สวัสดิการสังคม การเพิ่มทักษะในการทำงาน หรือการวัดผลการศึกษาที่ทางส่วนราชการจัดหรืออนุญาตให้จัดขึ้น ให้พนักงานยื่นใบลาตามแบบที่สหกรณ์กำหนดต่อผุ้จัดการ หรือกรรมการ ที่ได้รับมอบหมายแล้วแต่กรณีล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน โดยแสดงหลักฐานประกอบการลาดังกล่าวด้วย
        สหกรณ์จะพิจารณาอนุญาตให้ลาได้ตามความจำเป็น โดยไม่เสียหายต่อหน้าที่ความรับผิดชอบ และงานของสหกรณ์ ประกอบกับประโยชน์?ที่พนักงานจะได้รับเป็นสำคัญ
        สหกรณ์อาจไม่อนุญาตให้พนักงานผู้นั้นลาหยุดงานได้ ถ้า
        (1) สหกรณ์ได้อนุญาตให้ลาไปแล้วไม่น้อยกว่า 30 วัน
        (2) สหกรณ์ได้อนุญาตให้ลาไปแล้วไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง
        (3) สหกรณ์มีความจำเป็นเร่งด่วนเกี่ยวกับงานที่พนักงานผู้นั้นปฏิบัติอยู่ หากอนุญาตให้ลาแล้วจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่สหกรณ์
        16.7 การลางานที่ได้รับอนุมัติจากผู้จัดการแล้วจะต้องให้ประธานกรรมการลงนามรับทราบจึงจะถือว่าเป็นการลางานที่สมบูรณ์
        16.8 สหกรณ์สงวนสิทธิที่จะเรียกเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับอนุยาตให้ลางานกลับเข้าทำงานก่อนครบกำหนดการลาก็ได้ ถ้าเห็นว่ามีความจำเป็นแก่กิจการสหกรณ์
        16.9 การหยุดงานโดยไม่เสนอใบลาตามระเบียบนี้ หรือการหยุดงานโดยไม่ได้รับอนุญาตให้ลาตามระเบียบนี้ให้ถือเป็นการขาดงาน และให้หักเงินเดือน หรือค่าจ้างตามส่วนเฉลี่ยรายวันตลอดเวลาที่ขาดงาน นอกจากนั้นให้พิจารณาลงโทษผิดระเบียบวินัย สำหรับผู้ขาดงานตามควรแต่กรณี เว่นแต่เกิดจากเหตุสุดวิสัยและมีเหตุผลชี้แจงให้ผู้บังคับบัญชาทราบเป็นกรณี

หมวด 7
วินัยและโทษทางวินัย

ข้อ 17 วินัย
         สหกรณ์กำหนดวินัยในการทำงานให้พนักงานปฏิบัติดังนี้
        (1) สนับสนุนการปกครองตามรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุิ์ทธิ์ใจ
        (2) ต้องรักษาความลับของสหกรณ์และไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อขบวนการสหกรณ์
        (3) ต้องให้การต้อนรับ คำชี้แจง ความสะดวก ความเป็นธรรม และการสงเคราะห์แก่ผู้มาติดต่อในกิจการของสหกรณ์โดยมิชักช้า ทั้งต้องสุภาพ เรียบร้อยต่อสมาชิกของสหกรณ์และประชาชนทั่วไป ห้ามมิให้ดูหมิ่นเหยียดหยามบุคคลใดๆ
        (4) ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์เที่ยงธรรมและประพฤติตนอยู่ในความสุจริตห้ามมิให้กดขี่ข่มเหงหรือเบียเียนผู้ใด และห้ามมิให้อาศัยงานในหน้าที่ของตนไม่ว่าในทางตรง หรือทางอ้อมหาผลประโยชน์แก่ตนหรือผู้อื่น
        (5) ต้องขวนขวายปฏิบัติหน้าที่ด้วยความอุตสาหะ และรวดเร็วให้เกิดผลดี และความก้าวหน้าแก่สหกรณ์และสมาชิกของสหกรณ์ ทั้งเอาใจใส่ระมัดระวังผลประโยชน์ของสหกรณ์
        (6) ต้องไม่รายงานเท็จหรือเสนอความเห็นที่ไม่สุจริตต่อผู้บังคับบัญชา
        (7) ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง และแบบแผนและวิธีปฏิบัติของสหกรณ์
        (8) ต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่กิจการของสหกรณ์ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ไม่ได้ทั้งนี้โดยจะต้องปฏิบัติหน้าที่และดำรงตำแหน่งในสหกรณ์ใดสหกรณ์หนึ่งเพียงแห่งเดียวเท่านั้น ห้ามมิให้เป็นตัวกระทำการในห้าหุ้นส่วนใดๆ 
        (9) ต้องสุภาพเรียบร้อย เชื่อฟัง และไม่แสดงความกระด้าง กระเดื่อง ต่อผู้บังคับบัญชาผู้อยู่ใต้บังััาต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่ีงสั่งในกิจการของสหกรณ์โดยชอบ ในการปฏิบัติกิจการของสหกรณ์ ห้ามมิให้กระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปสั่งให้กระทำหรือได้รับอนุญาตเป็นพิเศษเป็นครั้งคราว
        (10) ต้องรักษาชื่อเสียมิให้ขึ้ชื่อว่าประฤิั่ว ห้ามมิให้ประพฤติตนในทางที่อาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ เช่น ประพฤติตนเป็นคนเสเพล สพสุรา หรือของมึนเมาอย่างอื่นจนไม่สามารถครองสติได้ เสพยาเสพติดให้โทษ มีหนี้สินรุงรัง เล่นการพนัน กระทำหรือยอมหใ้ผู้อื่นกระทำการอื่นใด ซึ่งอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่
        (11) ต้องไม่เสพสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่นในเวลาปฏิบัติหน้าที่เป็นอันขาด
        (12) ต้องร่วมมือช่วยเหลือกันในกิจการของสหกรณ์ ต้องรักษาความสามัคคี บรรดาผู้อยู่ในวงาอสหกรณ์ และต้องไม่กระทำการใดๆ อันอาจเป็นเหตุก่อให้เกิดการแตกแยกสามัคคี หรือก่อให้เกิดความกระด้าระเื่องในบรรดาผู้อยู่ในวงงานสหกรณ์
        (13) ต้องร่วมมือประสานงานด้วยดีกัส่วนราชการ หรือสถาบันอื่นที่เกี่ยวข้องกับกิจการสหกรณ์

ข้อ 18 โทษทางวินัย

        สหกรณ์กำหนดโทษสำหรับพนักงานที่ฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือกระทำความผิดไว้ดังนี้
        18.1 ต ักเตือนด้วยวาจา
        18.2 ตักเตือนเป็นหนังสือ
        18.3 พักงานโดยไม่ได้รับค่าจ้าง
        18.4 ลดค่าจ้างเงินเดือน
        18.5 ให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก
          สหกรณ์สงวนสิทธิที่จะลงโทษพนักงานตามความร้ายแรงของการกระทำความผิด โดยไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามลำดับข้างต้นแต่ประการใด

ข้อ 19 การพักงาน เพื่อสอบสวนความผิด

         ในกรณีที่พนักงานถูกกล่าวหาว่ากระทำการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน กฏระเบียบ คำสั่ง สหกรณ์มีสิทธิสั่งพักงาเื่อสอบสวนความผิด เว้่นแต่กรณีความผิดชัดแ้โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
         19.1 คำสั่งพักงานจะเป็นหนังสือโดยระบุความผิด
         19.2 กำหนดระยะเวลาพักงานจะไม่เกิน 7 วัน
         19.3 สหกรณ์จะแจ้งคำสั่งการพักงานให้พนักงานทราบก่อนการพักงาน
         19.4 สหกรณ์จะจ่ายเงินระหว่างพักงานในอัตราร้อยละ 50 ของค่า้จ้าง
         19.5 ในกรณีที่สอบสวนแล้วพนักงานมิได้กระทำความผิด สหกรณ์จะจ่ายค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานปกติ นับแต่วันที่สั่งพักงานโดยให้ถือว่าเงินตามข้อ 19.4 เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง

หมวด 8
การร้องทุกข

          ความคิดเห็นที่แตกต่างหรือความขัดแย้งที่เกี่ยวกับสภาพการจ้าง การทำงาน สิทธิประโยชน์หน้าที่และความรับผิดชอบในการทำงานพึงได้รับการแก้ไขหรือขจัดให้หมดสิ้นไปด้วยความรวดเร็ว และยุติธรรมเพื่อให้การทำงานร่วมกันปลอาวามคิดเห็นที่แตกต่าง ได้รับสิทธิประโยชน์ที่เป็นธรรม การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สหกรณ์จึงกำหนดหลักเกณฑ์การร้องทุกข์ในสถานประกอบการไว้ ดังนี้

ข้อ 20 ความหมายและขอบเขตของร้องทุกข์
         (1) ข้อร้องทุกข์ของพนักงานจะต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความคิดเห็นหรือขัดแย้งว่าด้วยระบบหรือวิธีการทำงาน สิทธิประโยชน์ตามสัญา หรือสภาพการจ้าง ความประพฤติและความเป็นธรรมของพนักงาน
         (2) ข้อร้องทุกข์จะ้องมิใช่เรื่องร้องขอให้แต่ั้ง โยกย้าย เลิกจ้่าง ปลดออก ไล่ออก ซึ่งบุคคล
         (3) ข้อร้องทุกข์จะต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำงาน มิใช่เรื่อส่วัว เว้นแต่เรื่องนั้นจะเกี่ยวข้องกับการทำงาน

ข้อ 21 วิธีการและขั้นตอนการร้องทุกข์

        (1) พนักงานที่ประสงค์จะร้องทุกข์ให้ร้องทุกข์เป็นหนังสือด้วยตนเองต่อผู้จัดการ หรือกรรมการ ที่ได้รับมอบหมายแล้วแต่กรณีภายใน 3 วัน นับแต่วันที่มีความขัดแย้ง
        (2) ผู้จัดการ หรือกรรมการ ที่ได้รับมอบหมายแล้วแต่กรณีต้องทำการสอบสวนและพิจารณาวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องทุกข์
        (3) ผู้จัดการ หรือกรรมการที่ได้รับมอบหมายจะแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ร้องทุกข์ด้วยการชี้แจงทำความเข้าใจหรือวินิจฉัยเป็นหนังสือก็ไ้ด้ การแจ้งผลการพิจารณาโดยการชี้แ้วยวาจา ให้บันทึกคำชี้แ เหตุผลไว้ในสำนวนโดยให้ผู้ร้องทุกข์ลงลายมือชื่อรับทราบไว้ด้วย
        (4) การพิจารณาคำร้องทุกข์เกี่ยวกับการลงโทษ ผู้พิจารณาจะต้องมิใช่ผู้ที่มีคำสั่งลงโทษ

ข้อ 22 การอุทธรณคำวินิจฉัย

       (1) ผู้ร้องทุกข์ที่ไม่พอใจคำชี้แหรือคำวินิจฉัย มีสิทธิอุทธรณ์ต่อผู้จัดการ หรือกรรมการ ที่ได้รับมอบหมายแล้วแต่กรณีเป็นหนังสือภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำชี้แจงหรือคำวินิจฉัย
       (2) ผู้จัดการ หรือกรรมการที่ได้รับมอบหมายแล้วแต่กรณี ต้องทำการสอบสวนข้อเท็จจริงเพิ่มเติม(ถ้ามี) และพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์
       (3) ผู้จัดการ หรือกรรมการ ทีี่ได้รับมอบหมายแล้วแต่กรณี จะแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์ด้วยการชี้แจงทำความเข้าใจ หรือการวินิจฉัยเป็นหนังสือก็ได้ การแจ้งผลด้วยการชี้แจงด้วยวาจาให้บันทึกคำชี้แจงเหุลไว้ในสำนวนโดยให้ผู้ร้องทุกข์ลงลายมือชื่อรับทราบไว้ด้วย
       (4) คำชี้แจง การทำความเจ้าใจ หรือารวินิจฉัยของผู้จัดการ กรือกรรมการที่ได้รับมอบหมายแล้วแต่กรณีให้ถือเป็นที่สุด

ข้อ 23 ความคุ้มครองผู้ร้องทุกข์และผู้เกี่ยวข้ัอง
         (1) ข้อร้องทุกข์จะได้รับการพิจารณาอย่างเป็นระบบและด้วยความเป็นธรรม
         (2) ผู้ร้องทุกข์จะไม่ถูกกลั่นแกล้ง ย้ายหน้าที่การงาน หรือลงโทษแต่อย่างใด เว้นแต่จะเป็นการร้องทุกข์ด้วยเจตนาไม่สุจริต
         (3) พนักงานที่ให้การเป็นพยาน หรือให้ความร่วมมือในการสอบสวน จะได้รับความคุ้มครองโดยจะไม่ถูกกลั่นแกล้ง ย้ายหน้าที่การงาน หรือลงโทษ เว้นแต่พนักงานที่ให้การด้วยอคติ ปรักปรำ ให้ร้าย เป็นเท็จ หรือไม่ให้ความร่วมมือในการสอบสวนหาความจริง
        การสอบสวนอาจกระทำโดยคณะกรรมการที่สหกรณ์แต่งตั้งก็ไ้ด้

หมวด 9
การสิ้นสุดการจ้าง

        การจ้างจะสิ้นสุดลงด้วยเหตุหนึ่งเหตุใด ดังนี้
       1. ตาย
       2. ลาออก
       3. เลิืกจ้าง

ข้อ 24 ตาย 
          ในกรณีที่พนักงานถึงแก่ความตาย สหกรณ์จะจ่ายค่าจ้างหรือเงินอื่นให้แก่ทายาทโดยธรรมของพนักงานที่ถึงแก่ความตาย ส่วนเงิแนหรือประโยชน์ทดแทนให้เป็นไปตามกฏหมายว่าด้วยเงินทดแทนหรือกฏหมายประกันสังคม

ข้อ 25 การลาออก

          พนักงาน ยื่นใบลาล่วงหน้าตามแบบที่สหกรณ์กำหนดต่อผู้จัดการ หรือคณะกรรมการดำเนินการแล้วแต่กรณี โดยให้ยื่นก่อนวันที่ 1 หรืออย่างช้าในวันที่ 1 ของเดือนที่ประสงค์จะลาออกโดยพนักงานจะ้องปฏิบัติงานตามปกติจนถึงสิ้นเดือน เวันแต่สหกรณ์จะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น และการลาออกจะมีผลสมบูรณ์ตั้งแต่วันที่ 1 ของเดือนถัดไป

          การลาออกของพนักงานที่ฝ่าฝืนระเบียบการลาดัล่าว ย่อมทำให้สหกรณ์เสียหาย สหร์มีความชอบธรรมที่จะหักเงินประกัน ค่าจ้าง หรือเงินอื่นใดชดใช้่ความเสียหายดังกล่าวได้ รวมถึงอาจใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลแรงงาน เพื่อให้พนักงานหรือผู้ค้ำประกัดใช้ความเสียหายได้ด้วย

ข้อ 26 การเลิกจ้าง

          การเลิกจ้าง หมายถึง พนักงานที่สหกรณ์ให้พ้นสภาพการเป็นพนักงานของสหกรณ์ โดยการให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก อันเนื่องจากพนักงานขาดคุณสมบัติในการทำงานมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ยุบหน่วยงาน เลิกกิจการ เกษียณอายุ ครบกำหนดตามสัญญาจ้าง หรือ กระทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่ง

          การเลิกจ้างดังกล่าวสหกรณ์จะแจ้งเหตุผลและวันเลิกจ้างให้พนักงานทราบเป็นหนังสือ โดยจะแจ้งให้พนักงานทราบล่วงหน้า 1 งวดการจ่ายค่าจ้าง เว้นแ่การเลิกจ้างพนักงานที่ไม่ผ่านการทดลองงาน พนักงานที่จ้างไว้โดยมีกำหนดระยะเวลาแน่นอน หรือ พนักงานที่กระำทำวามิและไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย

          ในกรณีที่สหกรณ์ไม่อาจบอกกล่าวล่วงหน้าได้ สหกรณ์จะจ่ายเงินให้แก่พนักงานแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

หมวด 10
ค่าชดเชย ค่าชดเชยพิเศษ

ข้อ 27 ค่าชดเชย

          สหกรณ์จะจ่ายค่าชดเชยการเลิกจ้างให้แก่พนักงานตามระยะเวลาและอัตรา ดังนี้

     (1) พนักงานซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี จะได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน

     (2) พนักงานซึ่งทำงานติดต่อกันมาครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี จะได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน

     (3) พนักงานที่ำาติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี จะำได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน

     (4) พนักงานที่ทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี จะได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน

     (5) พนักงานที่ทำงานที่ทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป จะได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน

ข้อ 28 ข้อยกเว้นการจ่ายค่าชดเชย

     28.1 สหกรณ์จะไม่จ่ายค่าชดเชยให่แก่พนักงานที่ถูกเลิกจ้าง เนื่องจากกระทำความผิดอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้

          (1) ทุจริตต่อหน้าที่

          (2) กระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่สหกรณ์

          (3) จงใจทำให้สหกรณ์ได้รับความเสียหาย

          (4) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้สหกรณ์ได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

          (5) ฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย และเป็นธรรม สหกรณ์ได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้วไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ได้ประทำความผิด เว้นแต่กรณีร้ายแรงที่ไม่จำต้องตักเตือนเป็นหนังสือ

          (6) ละเว้นหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

          (7) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เวันแต่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

     28.2 สหกรณ์จะไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานที่สหกรณ์จ้างไว้ โดยมีกำหนดระยะเวลาการจ้าง แน่นอนตามสัญญาจ้างและถูกเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลาของสัญญาจ้างนั้น

ข้อ 29 ค่าชดเชยพิเศษ

     29.1 ในกรณีที่สหกรณ์ย้ายที่ทำการของสหกรณ์ไปตั้ง ณ สถานที่อื่น อันมีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของพนักงานหรือครอบครัว สหกรณ์ต้องแจ้งให้พนักงานทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน ก่อนวันย้ายที่ทำการของสหกรณ์ ในการนี้ ถ้าพนักงานไม่ประสงค์จะไปทำงานด้วยให้พนักงานมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างได้ โดยพนักงานมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของอัตราค่าชดเชยที่พนักงานพึงมีสิทธิได้รับ

     29.2 ในกรณีที่สหกรณ์มีความจำเป็นต้องลำจำนวนพนักงาน อันเนื่องจากการปรับปรุงหน่วยงานระบบการทำงานหรือการบริการ สหกรณ์จะปฏิบัติดังนี้

     (1) แจ้งวันเลิกจ้าง เหตุผลของการเลิกจ้างให้พนักงานทราบล่วงหน้าไม่้อยว่า 60 วัน

     ในกรณีที่สหกรณ์ไม่สามารถแจ้งได้หรือแจ้งการเลิกจ้างน้อยกว่า 60 วัน จะจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 60 วัน

     (2) จ่ายค่าชดเชยพิเศษเพิ่มเติมจากค่าชดเชยตาม ข้อ 27 เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 15 วันต่อการทำงาน 1 ปี สำหรับพนักงานที่ทำงานติดต่อกันเกิน 6 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ ค่าชดเชยพิเศษดังกล่าวจะไม่เกินค่าจ้างอัตราสุดท้าย

หมวด 11
เบ็ดเตล็ด

ข้อ 30 การหยุดกิจการชั่วคราว

     ในกรณีที่สหกรณ์มีความจำเป็นต้องหยุดกิจการเป็นการชั่วคราว เนื่องจากหน่วยงานหรือสถานประกอบการที่สหกรณ์ตั้งอยู่หยุดกิจการ หรือสหกรณ์ประสบภาวะทางเศรษฐกิจ สหกรณ์จะแจ้งเหตุการหยุดกิจการให้ทราบล่วงหน้า และจ่ายเงินในระหว่างการหยุดกิจการในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง

ข้อ 31 กฎระเบียบอื่น ๆ

     31.1 กฎ ระเบียบ คำสั่ง ซึ่งใช้บังคับกับส่วนงานใดส่วนงานหนึ่งเป็นการเฉพาะให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของข้อบังคับในการทำงานนี้ด้วย ทั้งนี้รวมถึงใบสมัครงาน สัญญาจ้าง หนังสือประกัน และข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างด้วย

     31.2 การใดที่มิได้กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานหรือประเพณีปฏิบัิี่ยึดถือกันตลอดมา

     31.3 กฎ ระเบียบ คำสั่ง หรือข้อบังคับใด ขัดหรือแย้งกับข้อบังคับนี้ให้ใช้ข้อบังคับนี้แทน

ข้อ 32 ก ารแก้ไขเปลี่ยนแปลง

     ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานนี้ได้จัดทำขึ้นให้มีความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 แล้ว อย่างไรก็ตามสหกรณ์สงวนสิทธิในการแก้ไขปรับปรุงให้มีความเหมาะสมเป็นธรรมยิ่งขึ้น รวมทั้งสอดคล้องกับสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518ได้

ข้อ 33 การบังคับใช้

     33.1 ให้พนักงานทุกระดับศึกษาระเบียบนี้ให้มีความเข้าใจอย่างชัดแจ้งเพื่อให้มีการปฏิบัติอย่างถูกต้อง
     33.2 พนักงานทุกคนจะปฏิเสธว่าไม่ทราบเงื่อนไข หลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติตามระเบียบนี้ไม่ได้

     33.3 พนักงานระดับบังคับบัญชา และคณะกรรมการดำเนินการ เป็นผู้ควบคุมดูแลให้พนักงานระดับปฏิบัติตามอย่างถูกต้องและเคร่งครัด

ข้อ 34 ให้ยกเลิกระเบียบสหกรณ์ออมทรัพย์สหภาพแรงงานไทยเรยอน จำกัด ว่าด้วยการลาของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2535 และให้ใช้ระเบียบนี้แทน

ข้อ 35 ระเบียบนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2542

 

     ประกาศ ณ วันที่ 8 มิถุนายน 2542

ศรีโพธิ์ วายุพักตร์

  (นายศรีโพธ ิ์ วายุพักตร์)
ประธานกรรมการ
สหกรณ์ออมทรัพย์สหภาพแรงงานไทยเรยอน จำกัด